วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557





ประเภทของดาวเทียมสํารวจโลก

                การพัฒนาดาวเทียมสํารวจโลกยังคงดําเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มพัฒนาใหดาวเทียมมีอุปกรณ์หลากหลายชนิด และมีศักยภาพในการบันทึกข้อมูลในรายละเอียดสูงขึ้นดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ จึงทําได้หลายหน้าที่ โดยทั่วไปแล้วการจําแนกดาวเทียมสํารวจโลกตามหน้าที่แบ่งได้ 4 ชนิดคือ
                 1.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา(Meteorological Satellites)
วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา คือบันทึกภาพชั้นบรรยากาศโลกประจําวันเพื่อให้ได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลกและมีอุปกรณ์หยั่งวัดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ เครื่องวัดการแผ่รังสีของโลก ตัวอย่างดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เช่น ดาวเทียม ATS (Application Technology Satellite) ปฏิบัติงานใน พ.ศ. 2513 ดาวเทียม SMS (Sunsynchronous Meteorological Satellites) ปฏิบัติงานช่วงปลายปี พ.ศ. 2513 ดาวเทียมนี้จะเคลื่อนตัวอยูเหนือระดับ อิเควเตอร์ ในระดับความสูงประมาณ 36,000 กม.จะทําการบันทึก
ภาพพื้นโลก ในระหว่าง 60 ํเหนือ และ 60 ํใต้ปัจจุบันนี้มีดาวเทียม ที่กําลังปฏิบัติงานอยู คือGOES (Geostationary Operational Environmental Satellites) West &East ดาวเทียม NOAAและดาวเทียม Meteosat
                  2.ดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์ (Sea Satellites)
ดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์สํารวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ํา และใต้ผิวน้ํา ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ําแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล ไอน้ําในชั้นบรรยากาศ ความเร็วลม ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ ทําการบันทึกในช่วงคลื่น microwave ซึ่งเป็นช่วงคลื่นยาว ตัวอย่างดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์เช่น SEASAT RADARSAT และ MOS-1

               3.ดาวเทียมสํารวจนําร่อง (NAVSTAR)
ระบบดาวเทียมสํารวจนําร่
อง (NAVigation Sattellite Timing And Ranging:NAVSTAR) ถูกสูงขึ้นไปเมื่อ ค.ศ. 1978 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการกําหนดตําแหน่งระบบจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ใช้ทั้งกิจการทหารและพลเรือน ระบบนี้จะมีดาวเทียมทั้งหมดรวม 24 ดวงโคจรอยู่ที่ความสูง 20,200 กม. ผู้ใช้ที่ภาคพื้นดินจะต้องมีเครื่องมือรับสัญญานจากดาวเทียมเพื่อสกัดหาตําแหน่งค่าพิกัดภูมิศาสตร์ หรือค่าพิกัดอื่นๆเช่นพิกัด UTM
                 4.ดาวเทียมสํารวจแผ่นดิน (Land Satellites- LANDSAT)
ดาวเทียมสํารวจแผ่นดินมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวิวัฒนาการเริ่มจาก การส่งดาวเทียม LANDSAT-1 (ค.ศ. 1972) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังส่งดาวเทียมดวงถัดมา(LANDSAT-4-5-6) ปัจจุบันใช้ข้อมูลจาก LANDSAT- 5 และ LANDSAT- 7 (ค.ศ.1999) และดาวเทียมดวงอื่น ๆ เช่น ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศส IKONOS ขององค์การเอกชนของสหรัฐอเมริกา  เป็นตัวอย่างดาวเทียมสํารวจแผ่นดินตั้งแต่ยุคแรกเริ่มมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน ดาวเทียมสํารวจแผนดินจัดเป็นดาวเทียมที่มีรายละเอียดปานกลาง เช่น
                (1) แบบกวาดภาพหลายช่วงคลื่น (Multispectral Scanning System) หรือเรียกย่อๆ ว่า MSS ประกอบด้วย 4 ช่วงคลื่น มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 80 เมตร และทําการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่น สีเขียว 1 ช่วงคลื่น สีแดง 1 ช่วงคลื่น และอินฟราเรดใกล้ 2 ช่วงคลื่น

               (2) LANDSAT Thematic Mapper (TM ) มีรายละเอียดจุดภาพ 30 เมตร ทําการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่น 7 ช่วงคลื่น คือ น้ําเงิน เขียว แดง อินฟราเรดใกล้อินฟราเรดกลาง และ ช่วงคลื่นความร้อน (Thermal Wavelength)
                  ปัจจุบันนี้สามารถรับขอมูลจากดาวเทียมดวงที่ 7 คือ Enhanced Thematic Mapper(ETM+) ซึ่งให้รายละเอียดจุดภาพ 15 เมตร และเพิ่มรายละเอียดเชิงคลื่นจาก LANDSAT- 5 อีก 1 ช่วงคลื่น คือแบนด์ 8 มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 15 เมตร

 เครื่องวัด :แบบกลเชิงแสงระบบ MSS และ TM
 ความสูงของการโคจร :705 กิโลเมตร เอียง 98 องศา
 
ลักษณะวงโคจร: แบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์กี่งหมุนเวียนกลับมาที่เดิมโคจรผ่าน
 
เส้นศูนย์สูตร: 09.39 น.มีการโคจรกลับมา
 
บันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุก16 วัน
 
ความกว้างของแนวถ่ายภาพ:185กิโลเมตร
            LANDSAT- 5



เครื่องวัด : ระบบ HRV (High Resolution Visible)
ความสูงของการโคจร : 830 กิโลเมตร เอียง 98.8 องศา
ลักษณะวงโคจร: แบบสัมพันธ์
กับดวงอาทิตย์กี่งหมุนเวียนกลับมาที่เดิม
โคจรผ่
านเส้นศูนย์สูตร : 10.30 น.
มีการโคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุก 26 วัน (ในแนวดิ่ง)
ความกว้
างของแนวถ่ายภาพ : 60 กิโลเมตร

                      SPOTของฝรั่งเศส




Earth Resource Satellite
ดาวเทียม ERS-1 (Earth Resource Satellite) พัฒนาโดยองค์การ
อวกาศแห่
งยุโรป และได้จัดส่งขึ้นโคจรเป็นผลสําเร็จเมื่อ17 กรกฏาคม 2534
เครื่องวัด : ในระบบไมโครเวฟ หรือระบบเรดาร์

ความสูงของการโคจร : 785 กิโลเมตร ทํามุมเอียง 98.5 องศา
โคจรผ่
านเส้นศูนย์สูตร :10.30 น.
มีการโคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุด เดิม:ทุกๆ 35 วัน (วงโคจรมาตรฐาน)
3 วัน และ 176 วัน ซึ่งมีคุณลักษณะเดิ
น คือ สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งใน เวลากลางวันและกลางคืน
          



MarineObsercation Satellite
ดาวเทียม MOS (MarineObservation Satellite)เป็นดาวเทียมขององค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น(National SpaceDevelopment Agency -NASDA) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสํารวจพื้นพิภพและสมุทรศาสตร์ MOS-1 ขึ้นสูงวงโคจร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2530 MOS-1b ถูกสูงขึ้นโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 ความสูงของการโคจร : 909 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก โดยจะโคจรวันหนึ่ง 14 รอบ ๆ ละ 103 นาทีรอบโลกจะมีทั้งสิ้น 2537 รอบ โคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุกๆ 17 วัน



















 






    









 





\

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น