วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557



จัดทำโดย

นางสาว เรณุกาย   ธงสังกา   รหัสนิสิต 56170205

กลุ่ม 7



เสนอ
อาจารย์ กฤษณะ    อิ่มสวาสดิ์



รายวิชา 876211 การสำรวจจากระยะไกล 1

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา






คุณสมบัติของภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร

1. การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง(Synoptic view) ภาพจากดาวเทียมภาพหนึ่งๆ ครอบคลุมพื้นที่กว้างทำให้ได้ข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องในระยะเวลาบันทึกภาพสั้นๆ สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ ในบริเวณกว้างขวางต่อเนื่องในเวลาเดียวกันทั้นภาพ เช่น ภาพจาก LANDSAT MSS และ TMหนึ่งภาพคลุมพื้นที่185X185 ตร.กม. หรือ 34,225 ตร.กม.ภาพจาก SPOT คลุมพื้นที่ 3,600 ตร.กม.เป็นต้น

2. การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีระบบกล้องสแกนเนอร์ ที่บันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่นในบริเวณเดียวกัน ทั้งในช่วงคลื่นที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และช่วงคลื่นนอกเหนือสายตามนุษย์ ทำให้แยกวัตถุต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้อย่างชัดเจน เช่น ระบบ TM มี 7 ช่วงคลื่น เป็นต้น

3. การบันทึกภาพบริเวณเดิม(Repetitive coverage) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีวงโคจรจากเหนือลงใต้ และกลับมายังจุดเดิมในเวลาท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น LANDSATทุก ๆ 16 วัน MOS ทุกๆ 17 วัน เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลบริเวณเดียวกันหลายๆ ช่วงเวลาที่ทันสมัยสามารถเปรียบเทียบและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสที่จะได้ข้อมูลไม่มีเมฆปกคลุม

4. การให้รายละเอียดหลายระดับ ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ มีผลดีในการเลือกนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น ภาพจากดาวเทียม SPOT ระบบ PLAมีรายละเอียด10 ม. สามารถศึกษาตัวเมือง เส้นทางคมนาคมระดับหมู่บ้าน ภาพสีระบบ MLA มีรายละเอียด 20ม.ศึกษาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เฉพาะจุดเล็กๆ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก และภาพระบบ TMรายละเอียด 30ม.ศึกษาสภาพการใช้ที่ดินระดับจังหวัด เป็นต้น

5. ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ภาพสีผสม(False color composite) ได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการขยายรายละเอียดเฉพาะเรื่องให้เด่นชัดเจน สามารถจำแนกหรือมีสีแตกต่างจากสิ่งแวดล้อม

6. การเน้นคุณภาพของภาพ(Image enhancement)ภาพจากดาวเทียมต้นฉบับสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนค่าความเข้ม ระดับสีเทา เพื่อเน้นข้อมูลที่ต้องการศึกษาให้เด่นชัดขึ้น













แหล่งอ้างอิง
 





ประเภทของดาวเทียมสํารวจโลก

                การพัฒนาดาวเทียมสํารวจโลกยังคงดําเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มพัฒนาใหดาวเทียมมีอุปกรณ์หลากหลายชนิด และมีศักยภาพในการบันทึกข้อมูลในรายละเอียดสูงขึ้นดาวเทียมดวงหนึ่ง ๆ จึงทําได้หลายหน้าที่ โดยทั่วไปแล้วการจําแนกดาวเทียมสํารวจโลกตามหน้าที่แบ่งได้ 4 ชนิดคือ
                 1.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา(Meteorological Satellites)
วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา คือบันทึกภาพชั้นบรรยากาศโลกประจําวันเพื่อให้ได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลกและมีอุปกรณ์หยั่งวัดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ เครื่องวัดการแผ่รังสีของโลก ตัวอย่างดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เช่น ดาวเทียม ATS (Application Technology Satellite) ปฏิบัติงานใน พ.ศ. 2513 ดาวเทียม SMS (Sunsynchronous Meteorological Satellites) ปฏิบัติงานช่วงปลายปี พ.ศ. 2513 ดาวเทียมนี้จะเคลื่อนตัวอยูเหนือระดับ อิเควเตอร์ ในระดับความสูงประมาณ 36,000 กม.จะทําการบันทึก
ภาพพื้นโลก ในระหว่าง 60 ํเหนือ และ 60 ํใต้ปัจจุบันนี้มีดาวเทียม ที่กําลังปฏิบัติงานอยู คือGOES (Geostationary Operational Environmental Satellites) West &East ดาวเทียม NOAAและดาวเทียม Meteosat
                  2.ดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์ (Sea Satellites)
ดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์สํารวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ํา และใต้ผิวน้ํา ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ําแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล ไอน้ําในชั้นบรรยากาศ ความเร็วลม ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ ทําการบันทึกในช่วงคลื่น microwave ซึ่งเป็นช่วงคลื่นยาว ตัวอย่างดาวเทียมสํารวจสมุทรศาสตร์เช่น SEASAT RADARSAT และ MOS-1

               3.ดาวเทียมสํารวจนําร่อง (NAVSTAR)
ระบบดาวเทียมสํารวจนําร่
อง (NAVigation Sattellite Timing And Ranging:NAVSTAR) ถูกสูงขึ้นไปเมื่อ ค.ศ. 1978 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการกําหนดตําแหน่งระบบจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ใช้ทั้งกิจการทหารและพลเรือน ระบบนี้จะมีดาวเทียมทั้งหมดรวม 24 ดวงโคจรอยู่ที่ความสูง 20,200 กม. ผู้ใช้ที่ภาคพื้นดินจะต้องมีเครื่องมือรับสัญญานจากดาวเทียมเพื่อสกัดหาตําแหน่งค่าพิกัดภูมิศาสตร์ หรือค่าพิกัดอื่นๆเช่นพิกัด UTM
                 4.ดาวเทียมสํารวจแผ่นดิน (Land Satellites- LANDSAT)
ดาวเทียมสํารวจแผ่นดินมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวิวัฒนาการเริ่มจาก การส่งดาวเทียม LANDSAT-1 (ค.ศ. 1972) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังส่งดาวเทียมดวงถัดมา(LANDSAT-4-5-6) ปัจจุบันใช้ข้อมูลจาก LANDSAT- 5 และ LANDSAT- 7 (ค.ศ.1999) และดาวเทียมดวงอื่น ๆ เช่น ดาวเทียม SPOT ของประเทศฝรั่งเศส IKONOS ขององค์การเอกชนของสหรัฐอเมริกา  เป็นตัวอย่างดาวเทียมสํารวจแผ่นดินตั้งแต่ยุคแรกเริ่มมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน ดาวเทียมสํารวจแผนดินจัดเป็นดาวเทียมที่มีรายละเอียดปานกลาง เช่น
                (1) แบบกวาดภาพหลายช่วงคลื่น (Multispectral Scanning System) หรือเรียกย่อๆ ว่า MSS ประกอบด้วย 4 ช่วงคลื่น มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 80 เมตร และทําการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่น สีเขียว 1 ช่วงคลื่น สีแดง 1 ช่วงคลื่น และอินฟราเรดใกล้ 2 ช่วงคลื่น

               (2) LANDSAT Thematic Mapper (TM ) มีรายละเอียดจุดภาพ 30 เมตร ทําการบันทึกข้อมูลในแถบช่วงคลื่น 7 ช่วงคลื่น คือ น้ําเงิน เขียว แดง อินฟราเรดใกล้อินฟราเรดกลาง และ ช่วงคลื่นความร้อน (Thermal Wavelength)
                  ปัจจุบันนี้สามารถรับขอมูลจากดาวเทียมดวงที่ 7 คือ Enhanced Thematic Mapper(ETM+) ซึ่งให้รายละเอียดจุดภาพ 15 เมตร และเพิ่มรายละเอียดเชิงคลื่นจาก LANDSAT- 5 อีก 1 ช่วงคลื่น คือแบนด์ 8 มีรายละเอียดจุดภาพประมาณ 15 เมตร

 เครื่องวัด :แบบกลเชิงแสงระบบ MSS และ TM
 ความสูงของการโคจร :705 กิโลเมตร เอียง 98 องศา
 
ลักษณะวงโคจร: แบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์กี่งหมุนเวียนกลับมาที่เดิมโคจรผ่าน
 
เส้นศูนย์สูตร: 09.39 น.มีการโคจรกลับมา
 
บันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุก16 วัน
 
ความกว้างของแนวถ่ายภาพ:185กิโลเมตร
            LANDSAT- 5



เครื่องวัด : ระบบ HRV (High Resolution Visible)
ความสูงของการโคจร : 830 กิโลเมตร เอียง 98.8 องศา
ลักษณะวงโคจร: แบบสัมพันธ์
กับดวงอาทิตย์กี่งหมุนเวียนกลับมาที่เดิม
โคจรผ่
านเส้นศูนย์สูตร : 10.30 น.
มีการโคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุก 26 วัน (ในแนวดิ่ง)
ความกว้
างของแนวถ่ายภาพ : 60 กิโลเมตร

                      SPOTของฝรั่งเศส




Earth Resource Satellite
ดาวเทียม ERS-1 (Earth Resource Satellite) พัฒนาโดยองค์การ
อวกาศแห่
งยุโรป และได้จัดส่งขึ้นโคจรเป็นผลสําเร็จเมื่อ17 กรกฏาคม 2534
เครื่องวัด : ในระบบไมโครเวฟ หรือระบบเรดาร์

ความสูงของการโคจร : 785 กิโลเมตร ทํามุมเอียง 98.5 องศา
โคจรผ่
านเส้นศูนย์สูตร :10.30 น.
มีการโคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุด เดิม:ทุกๆ 35 วัน (วงโคจรมาตรฐาน)
3 วัน และ 176 วัน ซึ่งมีคุณลักษณะเดิ
น คือ สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งใน เวลากลางวันและกลางคืน
          



MarineObsercation Satellite
ดาวเทียม MOS (MarineObservation Satellite)เป็นดาวเทียมขององค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น(National SpaceDevelopment Agency -NASDA) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสํารวจพื้นพิภพและสมุทรศาสตร์ MOS-1 ขึ้นสูงวงโคจร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2530 MOS-1b ถูกสูงขึ้นโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 ความสูงของการโคจร : 909 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก โดยจะโคจรวันหนึ่ง 14 รอบ ๆ ละ 103 นาทีรอบโลกจะมีทั้งสิ้น 2537 รอบ โคจรกลับมาบันทึกภาพที่จุดเดิม: ทุกๆ 17 วัน



















 






    









 





\



การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)
ภาพถ่ายดาวเทียม ประกอบด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

1) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา(visual interpretation) เป็นการแปลตีความจากลักษณะองค์ประกอบของภาพ โดยอาศัยการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ได้แก่ สี (color, shade, tone) เงา (shadow) รูปทรง (fron) ขนาดของวัตถุ(size) รูปแบบ (pattern) ลวดลายหรือ ลักษณะเฉพาะ (texture) และองค์ประกอบทางพื้นที่ (spatial components) ซึ่งเป็นหลักการตีความ เช่นเดียวกับการแปลภาพถ่ายทางอากาศ

2) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์(digital analysis and image processing) เป็นการตีความ ค้นหาข้อมูลส่วนที่ต้องการ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ ซึ่งการที่มีข้อมูลจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะทำการคำนวณด้วยมือได้ ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ช่วยให้รวดเร็วในการประมวลผล มีวิธีการแปลหรือจำแนกประเภทข้อมูลได้2 วิธีหลัก คือ

                     - การแปลแบบกำกับดูแล (supervised classification) หมายถึง การที่ผู้แปล เป็นผู้กำหนดตัวอย่างของประเภทข้อมูลให้แก่คอมพิวเตอร์ โดยใช้การเลือกพื้นที่ตัวอย่าง (traning areas) จากความรู้ด้านต่างๆเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษา รวมทั้งจากการสำรวจภาคสนาม

                    - การแปลแบบไม่กำกับดูแล (unsupervised classification) เป็นวิธีการที่ผู้แปลกำหนดให้คอมพิวเตอร์แปลข้อมูลเอง  โดยใช้หลักการทางสถิติ เพียงแต่ผู้แปลกำหนดจำนวน ประเภทข้อมูล (classes) ให้แก่เครื่อง โดยไม่ต้องเลือกพื้นที่ตัวอย่างให้ ผลลัพธ์จากการแปลจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ก่อนนำไปใช้งานโดยการเปรียบเทียบกับสภาพจริงหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ โดยวิธีการทางสถิติ










แหล่งอ้างอิง